อุทาหรณ์! ลูกสาววัย 3 ขวบ กลับจาก รร.อนุบาล ร้องซ้ำๆ บอก ฉี่ไม่ออก แม่เลยถอดกางเกงดู ทำเอาโกรธจนร้องไห้ (ตปท.)

Author:

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

เรียกว่าเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันที่ผู้ปกครองหลายครอบครัว จำเป็นจะต้องเลือกส่งลูกไปโรงเรียนอนุบาลให้เร็วที่สุด เพื่อที่ตนเองจะได้มีเวลาออกไปทำงานหารายได้มาจุนเจือครอบครัว และในฐานะพ่อแม่ย่อมหวังว่าลูกๆ จะปรับตัวเข้ากับชีวิตส่วนรวมและเข้ากับสังคมได้โดยเร็ว แต่ทว่า การส่งเด็กเล็กเข้าสู่สังคมส่วนรวมเร็วเกินไปนั้น บางครั้งมันก็อาจส่งผลเสียที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ดังเช่นเรื่องราวของคุณแม่คนหนึ่งจากประเทศจีน ได้ออกมาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ปกครองคนอื่นๆ ระบุว่า หลังจากได้ส่งลูกสาววัย 3 ขวบเข้าโรงเรียนอนุบาล ในตอนแรกเธอรู้สึกมีความสุขและโล่งใจมากที่ลูกสาว สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งหลังจากกลับจากโรงเรียน ลูกสาวก็จับกางเกงแน่นและพูดซ้ำๆ ว่า หนูฉี่ไม่ได้

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

พฤติกรรมที่แปลกไปของลูกสาว ทำให้ผู้เป็นแม่สับสน เพราะตามปกติลูกสามารถไปเข้าห้องน้ำได้ด้วยตัวเอง แล้วทำไมจู่ๆ ถึงไม่ยอมปัสสาวะ จากนั้น เธอตัดสินใจช่วยลูกสาวถอดกางเกงออก สิ่งที่เห็นก็ทำให้ถึงกับร้องไห้ออกมา ปรากฎว่าร่างกายของลูกสาวเต็มไปด้วยทราย และกางเกงของเธอก็สกปรกเอามากๆ

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

หลังจากซักถามอยู่ครู่หนึ่ง ลูกสาวถึงยอมเล่าความจริงว่า ครูอนุบาลไม่ยอมดูแลเด็กเล็กๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่ในวัยของพวกเขาอาจจะยังไม่สามารถทำได้ตัวเอง ในทางกลับกันครูถึงกับขู่เด็กๆ ว่า จะถูกตีหากใช้ห้องน้ำในโรงเรียนอนุบาล ดังนั้น ลูกสาวของเธอที่เป็นเพียงเด็กหญิงอายุเพียง 3 ขวบ จึงทำได้แค่แอบวิ่งไปที่พื้นทรายของสนามเด็กเล่นเพื่อปัสสาวะอย่างเงียบๆ

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ทั้งนี้ แม้ว่าผู้โพสต์จะไม่ได้บอกถึงบทสรุปของเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น แต่ก็บอกได้เลยว่านี่เป็นอีกหนึ่งกรณีที่สะท้อนได้ว่า ผู้ปกครองต้องใส่ใจและพิจารณาทุกพฤติกรรมของเด็กๆ อย่างรอบคอบเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของพวกคุณสามารถเติบโตอย่างมีสุขภาพที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะดวกสบาย และเอาใจใส่ ไม่รู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นภาระมากกว่าความสุข

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *